เส้นทางแห่งสายน้ำ เที่ยวทั่วกระบี่
ในเส้นทางสายนี้ ของดีที่กระบี่มีครบ ทั้ง น้ำแร่ น้ำตก และน้ำทะเล รวมไว้ให้นักท่องธรรมชาติทั้งหลายได้เฮ โดยไม่ต้องออกเรือไปไหนไกล น้ำตกร้อนคลองท่อม – ตั้งอยู่บริเวณบ้านบางคราม-บ้านบางเตียว อำเภอคลองท่อม อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกระบี่ตามถนนเพชรเกษม (กระบี่-ตรัง) ประมาณ 45 กิโลเมตร แยกซ้ายที่เส้นทางหลวง4038 จากนั้นแยกเข้าถนนสุขาภิบาล 2 ตรงเทศบาลอำเภอคลองท่อมไปอีก 12 กิโลเมตร เป็นน้ำพุร้อนแห่งหนึ่งในบรรดาน้ำพุร้อนอีกหลายแห่งที่กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณนี้ น้ำจะไม่ร้อนมาก มีอุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส เป็นน้ำร้อนที่ซึมขึ้นมาจากผิวดินซึ่งมีป่าละเมาะปกคลุมร่มรื่น สายน้ำไหลไปรวมกันตามความลาดเอียงของพื้นที่ บางช่วงมีควันกรุ่นและคราบหินปูนธรรมชาติพอกอยู่เป็นชั้นหนาทำให้เกิดทัศนียภาพสวยงามแปลกตา โดยเฉพาะบริเวณที่ธารน้ำร้อนไหลลงสู่คลองท่อมลดระดับเกิดเป็นลักษณะคล้ายชั้นน้ำตกเล็ก ๆ ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 90 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองท่อมเหนือ สระมรกต – กำเนิดมาจากธารน้ำอุ่น ในผืนป่าที่ราบต่ำภาคใต้ เป็นน้ำพุร้อน มีอุณหภูมิประมาณ30-50 องศาเซลเซียส เป็นสระน้ำสวยใสกลางใจป่า ที่มีน้ำใสเป็นสีเขียวอมฟ้า เปลี่ยนสีไปได้ตามวันเวลาและสภาพแสง สระมรกตกำเนิดมาจากธารน้ำอุ่น ในผืนป่าที่ราบต่ำภาคใต้ […]
เส้นทางหลังคาสยาม เชียงใหม่-อินทนนท์-ขุนวาง-แม่แจ่ม
วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร – พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักษิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณ เมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง และยังเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีชวด ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา มีบริเวณที่ตั้งเป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์ – อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อพ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า “ดอยหลวง” หรือ “ดอยอ่างกา”ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ดอยหลวง” (หลวง: […]
ตลาดนครชัยศรี และ ตลาดน้ําลําพญา นครปฐม
หากคุณโหยหาอดีต และความงามของวันวาน เสน่ห์แห่งห้องแถวไม้ และร้านค้าเก่าแก่ ท่ียังอยู่ในสภาพดี ที่ตลาดในชุมชนเก่าแก่ ริมแม่น้ํานครชัยศรี คงจะช่วยเติมเต็มความรู้สึก น้ันให้คุณได้ไม่มากก็น้อย ตลาดริมน้ําในชุมชนโบราณอีกแห่งหน่ึงในจังหวัดนครปฐม เป็นตลาดเล็กๆ ที่ประกอบไปด้วย อาคารไม้และร้านรวงเก่าแก่ท่ียังคงอนุรักษ์ไว้ และมีสภาพไม่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากนัก ได้แก่ ตลาดนครชัยศรี ที่เคยถูกเรียกว่า ตลาดท่านา ปัจจุบันกลายเป็นสถานท่ีท่องเที่ยวยอดนิยม ของคนกรุงเทพฯ ที่พากันมา จับจ่ายซื้อหาอาหาร และซึมซับบรรยากาศแบบดั้งเดิม ที่ยังมีเสน่ห์ ภายในตลาด มีทั้งอาหารคาว หวาน ให้เลือกสรรกันอย่างอุดมสมบูรณ์ โดยมีของกินชวนอร่อยมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เป็ดพะโล้ ก๋วยเตี๋ยวแคระโบราณ ขนมปังเย็น ปลากริม-ไข่เต่า บัวลอย และ ผลไม้สดๆ จากสวน โดยเฉพาะ ส้มโอนครชัยศรี ท่ีมีช่ือเสียง รวมทั้งยังเป็นแหล่งร้านอาหารริมน้ํา ที่ชวนชิมหลายแห่ง นอกจากอาหารการกินแล้ว ตลาดนครชัยศรี ยังมีร้านค้าที่ขายของน่าชมหลายร้าน ที่เน้นการตกแต่งเชิงอนุรักษ์ หรือว่าย้อนยุค เช่น ร้านขายของเล่นสังกะสีจากจีนแดง ท่ีขายของเล่นซึ่งหลายคน ยังจดจําได้จากวัยเด็ก หรือว่าร้านขายของเก่าที่มี เฟอร์นิเจอร์ เช่น […]
ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา และ มิวเซียมสยาม กรุงเทพมหานคร
ข้ามสะพานนาคราช เข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ เตรียมใจพบกับความยิ่งใหญ่ของ ปราสาทหินพิมาย ที่สุดแห่งลายสลักหิน ที่บรรพชนสร้างขึ้นไว้ด้วยแรงศรัทธา องค์พระศิวนาฏราช ร่ายรําบนหินทรายสลัก บนหน้าบันแห่งองค์ปรางค์ประธานนั้น ดูราวกับว่าจะเคลื่อนไหวได้จริง ยิ่งเมื่อเดินชมรายละเอียด ที่ถูกจําหลักไว้บนหินทรายอย่างงดงาม ซึ่งสามารถเอาชนะกาลเวลามาได้จนถึงวันนี้ ยิ่งทําให้ทึ่ง ในฝีมือแห่งบรรพชน ที่สร้างปราสาทหินที่ยิ่งใหญ่นี้ไว้ นับต้ังแต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 หรือ เกือบพันปีมาแล้ว ปราสาทหินพิมาย ต้ังอยู่ที่อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุด ในเมืองไทย มีความสวยงาม เป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน ด้วยรูปแบบของ ศิลปะเป็นแบบบาปวน ผสมผสานกับ ศิลปะแบบนครวัด สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมัน ที่ 1 และมีการก่อสร้างเพิ่มเติม ในยุคสมัย พระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 สิ่งที่น่าสนใจคือ องค์ปราสาทนั้นหันหน้าไปทางทิศใต้ ขณะที่ปราสาทแห่งอื่น มักหันหน้าสู่ทิศตะวันออก ซึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะปราสาทแห่งนี้ จะหันหน้าไปเชื่อมโยงกับ เมืองหลวงของขอมในอดีต จากความงามของโครงสร้าง การวางผัง และ ลําดับเวลาในการสร้าง ตามหลักฐานที่ปรากฏ เชื่อกันว่า ปราสาทหินพิมาย […]